วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

Kodu Grammar


Kodu เป็นโปรแกรมภาษาเฉพาะด้าน (Domain-specific language) สร้างมาสำหรับการสร้างเกม โดยอาศัยไวยากรณ์ภาษา (Grammar) ของ Kodu เป็นตัวกำหนดวิธีการเขียนโปรแกรมในเกม
การเขียนเกมใน Kodu เริ่มจากการสร้างโลกของเกมขึ้นมาก่อน โดยสร้างพื้นที่ในการเล่นเกม (Terrain) จากนั้นสร้างตัวละคร หรือ วัตถุต่างๆ เข้าไปบนพื้นที่นั้น ต่อมาคือการสร้างกฎของเกม เพื่อให้ตัวละครและวัตถุต่างๆ ทำงานร่วมกัน ตามที่เกมได้ถูกออกแบบไว้
Kodu Code
กฎต่างๆ ในเกม จะถูกกำหนดโดยการเขียนโปรแกรมเข้าไปยังตัวละคร หรือวัตถุต่างๆ และลักษณะการเขียนโปรแกรมใน Kodu คือการสั่งให้ตัวละคร หรือวัตถุต่างๆ ทำงานเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น เช่นในตัวอย่างตามรูปด้านบน เป็นการกำหนดกฎให้ตัวละคร Kodu มีทั้งหมด 4 เหตุการณ์ แต่ทำงาน 5 อย่าง 
ไวยากรณ์ของ Kodu อยู่ในรูปแบบง่ายๆ คือ แต่ละบรรทัด หรือแต่ละรายการ (มีตัวเลขกำกับอยู่) เป็นกฎหนึ่งข้อสำหรับตัวละครหรือวัตถุนั้น กฎจะอยู่ในรูปแบบตามไวยากรณ์ของ Kodu ดังนี้
When Condition Do Action 
อธิบายได้ว่า เมื่อ (When) เหตุการณ์ที่เฝ้ารอเกิดขึ้น (Condition) ให้ทำ (Do) งานดังนี้ (Action)
จากรูปด้านบน อธิบายกฎตามหลักไวยากรณ์ของ Kodu ได้ดังนี้
  1. เมื่อผู้เล่นใช้จอยสติ๊กด้านซ้ายของเกมแพด ตัวละคร Kodu จะเคลื่อนที่ตามทิศทางของจอยสติ๊ก
  2. เมื่อผู้เล่นใช้คีย์ลูกศรบนคีย์บอร์ด ตัวละคร Kodu จะเคลื่อนที่ตามทิศทางของคีย์ลูกศร (เกมนี้ผู้เล่นสามารถจะใช้เกมแพด หรือจะใช้คีย์บอร์ดในการเล่นก็ได้)
  3. เมื่อตัว Kodu ชน (bump) กับแอปเปิ้ล ให้ตัว Kodu กินผลแอปเปิ้ลนั้น (it)
  4. ในกรณีที่กฎมีการย่อหน้า และไม่มีเงื่อนไขของเหตุการณ์กำกับอยู่ หมายความว่า ให้ใช้เงื่อนไขก่อนหน้านั้น ซึ่งก็คือกฎในข้อ 3 เมื่อตัว Kodu ชน กับแอปเปิ้ล ให้เพิ่มคะแนน 1 คะแนนแก่ผู้เล่น
  5. เมื่อผู้เล่นทำคะแนนะได้ครบ 5 คะแนน ผู้เล่นชนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น