หรืออีกวิธีหนึ่ง คือใช้เกมแพด (ง่าย สะดวกรวดเร็วกว่าการใช้เมาส์) มุมบนซ้ายของโปรแกรม จะแสดงการใช้เกมแพดแทน
จากรูปด้านบน การสร้างเกมใน Kodu ต้องสร้างพื้นที่ (Terrain) สำหรับเล่นเกม (พื้นที่สีเขียวล้อมด้วยสีส้ม) และตัวละคร หรือวัตถุต่างๆ ซึ่งบางตัวอาจอยู่นิ่งๆ (ต้นไม้ ผลแอปเปิ้ล) เป็นวัตถุหรือส่วนประกอบของสภาวะแวดล้อมในเกม บางตัวเคลื่อนที่ได้ แสดงแอนิเมชั่นได้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นตัวละครหลัก (ตัวละคร Kodu) มีบทบาทในเกม นอกจากตัวละครกับพื้นที่แล้ว สิ่งที่เพิ่มสีสันให้กับสิ่งแวดล้อมในเกมได้ ก็คือแสง สี เสียง แต่ใน Kodu ไม่ได้เน้นมากนักเหมือนในโปรแกรมสร้างเกมระดับมืออาชีพ แต่เท่าที่มีก็น่าจะเพียงพอแล้ว
เกมแบบ 3 มิติ เหมือน Kodu จะมีลักษณะการสร้างคล้ายๆ กัน คือเริ่มจากสร้างพื้นที่ในการเล่นเกม พื้นที่สามารถปรับแต่งรูปร่างสูงต่ำได้ เปลื่ยนพื้นผิวได้ และเหมือนจะลอยอยู่กลางอากาศถ้าเราซูมออกมา (สังเกตพื้นที่ในรูปด้านบน) แต่เวลาเราเล่นเกมจริงๆ ภาพที่ได้จะเป็นภาพซูมเข้าไปข้างในพื้นที่ ในสิ่งแวดล้อมของเกมที่สร้างขึ้น
เมื่อเราได้พื้นที่เล่นเกมแล้ว ก็ได้เวลาใส่ตัวละครและวัตถุต่างๆ ลงไป ตัวละครและวัตถุใน Kodu ไม่ต้องสร้างเองแต่มีมาพร้อมใช้งานได้เลย และมีให้เลือกมากพอดู พวกมันสามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติส่วนตัวได้ และสามารถเขียนโปรแกรมให้ทำงานได้ หรือสร้างพฤติกรรมเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ได้
เกม 3 มิติ จะกำหนดตำแหน่งของทุกๆ สิ่งในระบบพิกัด 3 มิติ คือ ตามแกนด้านกว้างของจอคอมพิวเตอร์ ตามแกนด้านสูง และตามแกนความลึกเข้าหรือออกนอกจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการจะสำรวจในโลกของเกม 3 มิติ จะแตกต่างไปจากเกมแบบ 2 มิติ ซึ่งเราใช้เมาส์ลากไปบนหน้าจอ 2 มิติของจอคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง
ในโลกของเกม 3 มิติ ภาพที่เราเห็นจะเป็นภาพจากกล้อง ที่จับภาพวัตถุและสิ่งแวดล้อมในโลกของเกมออกมา คล้ายๆ กับการทำรายการทีวี แต่เราสามารถควบคุมกล้องได้เอง จะแพนภาพให้ขยับซ้ายขวา ขึ้นลงก็ได้ หมุนมุมมองซ้ายขวาหรือบนล่างก็ได้ และสามารถซูมภาพเข้าออกทำให้เห็นวัตถุใกล้ไกลได้ ซึ่งจะได้ภาพเล็กใหญ่ตามระยะทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น